Home / Page name

บทความฉ้อโกง

Project Image
1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง

2. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341

3. ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้กระทำ
    (1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
    (2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอก ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน          5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 342

4. ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน (ที่เรียก ทั่วไปว่า “ฉ้อโกงประชาชน”) หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 453 วรรคหนึ่ง
          ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่ง อนุมาตราใดด้วยผู้กระทำต้อง            ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 14,000 บาท ตามมาตรา 343 วรรคสาม

5. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปให้ประกอบการงานอย่างใดๆ ให้แก่ตนหรือให้แก่บุคคลที่ สาม โดยจะไม่ใช่ค่าแรงงานหรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้น หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่า นั้นต่ำกว่าที่ตกลงกันต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 344

6. ผู้ใดสั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มหรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าอยู่ในโรงแรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ตามมาตรา 345

7. ผู้ใดเพื่อเอาทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ชักจูงผู้หนึ่งผู้ใดให้จำหน่ายโดยเสียเปรียบ ซึ่งทรัพย์สิน โดยอาศัยเหตุที่ผู้ถูกชักจูงมีจิตอ่อนแอ หรือเป็นเด็กเบาปัญญา และไม่สามารถเข้าใจตามควรซึ่ง สาระสำคัญแห่งการกระทำของตน จนผู้ถูกชักจูงจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 346

8. ผู้ใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย แกล้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ตามมาตรา 347

9. ความผิดในหมวด 3 ว่าด้วยเรื่องความผิดฐานฉ้อโกงนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา 343 (ฐานฉ้อโกง ประชาชน) เป็นความผิดอันยอมความได้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย แกล้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ตามมาตรา 347
             ดังนั้น โดยหลักความผิดในฐานฉ้อโกงส่วนใหญ่จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งสามารถตกลงยอมความ กันระหว่างผู้เสียหาย                   และผู้กระทำความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรค สอง เมื่อมีการยอมความกันแล้วจะมี                 ผลให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (2) ยกเว้นแต่ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมาย                 อาญา มาตรา 343 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่อาจ ตกลงยอมกันเองระหว่างคู่กรณีไม่ได้ แม้จะมีการตกลงกันคดีอาญาก็ไม่               ระงับตามไปด้วย


Project Image
บทความคดีลักทรัพย์

การลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยต้องการจะครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เพื่อตนเองเอาไปขายหรือให้กับบุคคลอื่นก็ตามแต่

 


Project Image
ทวงหนี้อย่างไรไม่เสี่ยงคุก

ปัญหาหนักอกหนักใจสำหรับเจ้าหนี้บางท่านที่ให้คนกู้เงินแต่ไม่ได้เงินคืนตามสัญญา บ่อยครั้งมีการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่นและผู้อื่นจะมาทวงหนี้นั้น การกู้ยืมเงินไม่ใช่เรื่องผิดแต่หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาจนต้องมีการทวงหนี้เกิดขึ้น ต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อความยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย